งานอนุญาตวัสดุกัมมันตรังสีและวัดสุนิวเคลียร์
ช่องทางการยื่นคำขออนุญาตวัสดุกัมมันตรังสีและวัสดุนิวเคลียร์ และเอกสารอื่น ๆ เกี่ยวกับการอนุญาตฯ
ช่องทางการยื่นคำขออนุญาตฯ มี 3 ช่อง
- ด้วยตนเอง ณ ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ
- ทางไปรษณีย์ นำส่ง ณ
-
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงลาดยาว เขตจตุจักร
กรุงเทพฯ 10900
-
- ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
แบบคำขออนุญาตวัสดุกัมมันตรังสี มีแบบใดบ้าง
แบบคำขออนุญาตวัสดุกัมมันตรังสี มี 2 แบบ ดังนี้
- แบบ ปส 1ก สำหรับขออนุญาตผลิต ครอบครอบหรือใช้วัสดุกัมมันตรังสี
- แบบ ปส 3ก สำหรับขออนุญาตนำเข้าหรือส่งออกวัสดุกัมมันตรังสี
หมายเหตุ:
หาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแบบคำขออนุญาตและตัวอย่างการกรอกแบบคำขอและตัวอย่างเอกสารประกอบ
แบบคำขออนุญาตวัสดุนิวเคลียร์ มีแบบใดบ้าง
แบบคำขออนุญาตวัสดุนิวเคลียร์ มี 2 แบบ ดังนี้
- แบบ ปส 1ข สำหรับขออนุญาตผลิต ครอบครอบหรือใช้วัสดุนิวเคลียร์
- แบบ ปส 3ข สำหรับขออนุญาตนำเข้าหรือส่งออกวัสดุนิวเคลียร์
หมายเหตุ:
หาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแบบคำขออนุญาตและตัวอย่างการกรอกแบบคำขอและตัวอย่างเอกสารประกอบ
วัสดุกัมมันตรังสีประเภทใดบ้างที่ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี
ผู้ขอรับใบอนุญาตผลิต มีไว้ในครอบครองหรือใช้วัสดุกัมมันตรังสีต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีอย่างน้อยหนึ่งคนแบ่งตามประเภทใบอนุญาตและประเภทของวัสดุกัมมันตรังสี ดังนี้
- ใบอนุญาตผลิตวัสดุกัมมันตรังสีทุกประเภท ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีระดับสูงเท่านั้น
- ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้วัสดุกัมมันตรังสีประเภทที่ 1 ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีระดับสูงเท่านั้น
- ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้วัสดุกัมมันตรังสีประเภทที่ 2 และ 3 หรือวัสดุกัมมันตรังสีชนิดไม่ปิดผนึกทุกประเภท ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีตั้งแต่ระดับกลางขึ้นไป
- ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้วัสดุกัมมันตรังสีประเภทที่ 4 ชนิดปิดผนึก ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีระดับต้นขึ้นไป
- ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้วัสดุกัมมันตรังสีประเภทที่ 5 ชนิดปิดผนึก ไม่ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี
หมายเหตุ: อ้างอิงตามกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ. 2564 และ ระเบียบคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ ว่าด้วยความรับผิดชอบและสมรรถนะของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ. 2564
วัสดุกัมมันตรังสีใดบ้างที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาตฯ
ประเภทใบอนุญาตและประเภทวัสดุกัมมันตรังสีที่ต้องเสียค่าธรรมเนียม รายละเอียดดังนี้
- ใบอนุญาตผลิตวัสดุกัมมันตรังสีทุกประเภท
- ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้ ใบอนุญาตนำเข้า ใบอนุญาตส่งออก ใบแทนใบอนุญาต การแก้ไขเปลี่ยนแปลงใบอนุญาต สำหรับวัสดุกัมมันตรังสีประเภทที่ 1 ประเภทที่ 2 ประเภทที่ 3 และประเภทที่ 4
หมายเหตุ: อัตราค่าธรรมเนียมเป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทางนิวเคลียร์และรังสี พ.ศ. 2564 เนื่องจากกฎกระทรวงการอนุญาตวัสดุกัมมันตรังสียังไม่มีผลบังคับใช้ ทำให้ยังไม่มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาสำหรับใบอนุญาตนำผ่าน ปัจจุบันการนำผ่านจะดำเนินการออกใบอนุญาตทั้งหมด 3 ฉบับ คือ ใบอนุญาตนำเข้า ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้ และใบอนุญาตส่งออก และจะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
วัสดุนิวเคลียร์ใดบ้างที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาตฯ
ประเภทใบอนุญาตและประเภทวัสดุนิวเคลียร์ที่ต้องเสียค่าธรรมเนียม รายละเอียดดังนี้
ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้ ใบอนุญาตนำเข้า ใบอนุญาตส่งออก ใบแทนใบอนุญาต การแก้ไขเปลี่ยนแปลงใบอนุญาต สำหรับวัสดุต้นกำลัง วัสดุนิวเคลียร์พิเศษประเภทที่ 1 ประเภทที่ 2 และประเภทที่ 3
หมายเหตุ: อัตราค่าธรรมเนียมเป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทางนิวเคลียร์และรังสี พ.ศ. 2564 เนื่องจากกฎกระทรวงการอนุญาตวัสดุกัมมันตรังสียังไม่มีผลบังคับใช้ ทำให้ยังไม่มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาสำหรับใบอนุญาตนำผ่าน ปัจจุบันการนำผ่านจะดำเนินการออกใบอนุญาตทั้งหมด 3 ฉบับ คือ ใบอนุญาตนำเข้า ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้ และใบอนุญาตส่งออก และจะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
วัสดุกัมมันตรังสีและวัสดุนิวเคลียร์ใดที่ต้องแจ้งการมีไว้ในครอบครองหรือใช้
กฎกระทรวงเกี่ยวกับการกำหนดวัสดุกัมมันตรังสีและวัสดุนิวเคลียร์ที่ต้องแจ้งการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ยังไม่มีผลบังคับใช้ ทำให้วัสดุกัมมันตรังสีและวัสดุนิวเคลียร์ทุกประเภทยังต้องขออนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้
หมายเหตุ: อ้างอิงกฎกระทรวงกำหนดเงื่อนไข วิธีการขอรับใบอนุญาต และการดำเนินการเกี่ยวกับวัสดุนิวเคลียร์พิเศษ วัสดุต้นกำลัง วัสดุพลอยได้ หรือพลังงานปรมาณู พ.ศ. 2550
กรณีที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการอนุญาตวัสดุกัมมันตรังสีและวัสดุนิวเคลียร์เพิ่มเติม
สามารถติดต่อมายังเบอร์ 02 5967600 ต่อ 1509 15010 และ 1512 หรือทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
กรณีมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการยื่นคำขออนุญาตฯ
สามารถติดต่อมายังเบอร์ 02 5967600 ต่อ 1107
หรือทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
บริษัทได้ครอบครองวัสดุกัมมันตรังสีซึ่งเข้าข่ายที่ต้องขอรับใบอนุญาตครอบครองวัสดุกัมมันตรังสี และต้องมี จป.รังสี และมีการอบรมเรื่องความปลอดภัยกับงานรังสีให้กับพนักงานที่เกี่ยวข้อง แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 (Covid-19) ทำให้สนง.ไม่ได้เปิดให้เข้ารับการอบรม และทำไห้บริษัทฯไม่สามารถเข้ารับการสอบเพื่อเป็น จป.รังสีได้ จึงเป็นเหตุให้บริษัทฯจะไม่สามารถดำเนินการยื่นขออนุญาตแก่เจ้าหน้าที่ฯสนง.ปรมาณูเพื่อสันติได้ ทั้งนี้บริษัทฯจึงขอสอบถามมาในที่นี่ว่าบริษัทฯ สามารถดำเนินการยื่นเอกสารขออนุญาตก่อนได้หรือไม่ และเมื่อบริษัทฯได้ดำเนินการสอบ จป.รังสีและขึ้นทะเบียนกับบริษัทฯได้แล้วนั้นบริษัทฯจะกลับมาดำเนินการขึ้นทะเบียน จป.รังสีกับโรงงานอีกครั้ง
ทั้งนี้กรณีท่านยื่นเอกสารไม่ครบถ้วนหรือยังขาดในส่วนเจ้าหน้าที่ RSO ทางสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติจะยังไม่ออกใบอนุญาตให้ท่านจนกว่าจะยื่นหลักฐานประกอบการพิจารณาครบถ้วน
หากบริษัทฯยื่นเอกสารเพื่อขอเข้ารับใบอนุญาตก่อนแล้วนั้นมีเงื่อนไขหรือไม่ว่าบริษัทฯจะต้องสอบให้ผ่านภายในกี่วัน เนื่องจากบริษัทฯได้สอบถามเจ้าหน้าที่และศึกษาเงื่อนไขการพิจารณามานั้นทราบว่า จป.รังสีนั้น เป็นเงื่อนไขหลักในการประกอบคำขอ ทั้งนี้ขอทราบว่าทางสำนักงานมีเงื่อนไขอย่างไรหรือไม่
ปกติหลังพิจารณาพบว่าเอกสารไม่ครบถ้วนสมบูณ์ เจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาทางเทคนิคจะร้องขอให้ส่งเอกสารภายใน 30 วัน กรณีไม่ส่งเอกสารเพิ่มเติมภายใน 30 วัน เจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาทางเทคนิค อาจจะพิจารณาคืนคำขอฯ ทั้งชุด เพื่อให้ไปเตรียมเอกสารใหม่ เริ่มต้นใหม่
การแจ้งข้อเท็จจริงการใช้ใบอนุญาตนำเข้า-ส่งออก วัสดุกัมมันตรังสีและวัสดุนิวเคลียร์
การแจ้งข้อเท็จจริง คือ อะไร?
การแจ้งข้อมูลการอนุญาตนำเข้า-ส่งออก วัสดุกัมมันตรังสีและวัสดุนิวเคลียร์ ของ ปส. ร่วมกับข้อมูลรายละเอียดสินค้า (Invoice) ให้กับกรมศุลกากร ผ่านระบบ National Single Window (NSW)
ใบแจ้งข้อเท็จจริง คือ อะไร?
ใบรับรองสำหรับการนำเข้า-ส่งออก ที่มีข้อมูลการอนุญาตของ ปส. + ข้อมูลรายการสินค้า ที่ส่งผ่านระบบ NSW ให้กับกรมศุลกากร หรือเรียกว่าใบ LPI (License Per Invoice)
ทำไมต้องแจ้งข้อเท็จจริง?
ลดระยะเวลา ลดขั้นตอนการดำเนินการการนำเข้าส่งออกตามแผนการพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศไทย และ ปส. อยู่ในประเภทสินค้าอันตรายที่จะต้องผลักดันการนำเข้า-ส่งออก ให้เป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ 100%ตามแผน และ ปส. ต้องรายงานผลการดำเนินการให้คณะกรรมการทราบทุกปี
ไม่แจ้งข้อเท็จจริงได้ไหม?
ไม่ได้ เนื่องจาก ปส. แจ้งให้การแสดงข้อมูลการอนุญาตต้องดำเนินการผ่านระบบ NSW เท่านั้น ซึ่งกรมศุลกากรทราบและตรวจสอบสินค้า Class 7 ทั้งหมด โดยอ้างอิงข้อมูลใบอนุญาตของ ปส. ผ่านระบบ NSW ตั้งแต่ มิถุนายน 2562 เป็นต้นมา
ใครต้องมาแจ้งข้อเท็จจริง?
ผู้รับใบอนุญาตนำเข้า-ส่งออก วัสดุกัมมันตรังสีและวัสดุเคลียร์ หรือผู้ได้รับมอบอำนาจ
ผู้ขอรับใบอนุญาตเท่านั้นที่แจ้งข้อเท็จจริงได้ ใช่หรือไม่?
ผู้รับใบอนุญาตแจ้งข้อเท็จจริงเองได้ หรือจะมอบอำนาจให้กับบุคคลอื่นทำแทนได้ เช่น Shipping หรือบริษัทที่รับดำเนินการแทนตั้งแต่การขออนุญาต
สมัครแจ้งข้อเท็จจริงอย่างไร ทำได้ตอนไหน สมัครนานรึเปล่า?
ผู้รับใบอนุญาตนำเข้า-ส่งออก สามารถสมัครใช้บริการได้ตั้งแต่วันที่ยื่นขอรับใบอนุญาต โดยเฉพาะผู้ที่ขอรับใบอนุญาตครั้งแรกต้องดำเนินการสมัครใหม่ ควรเตรียมการสมัครและทราบวิธีการใช้งานระบบก่อนการนำเข้า-ส่งออก เพื่อเตรียมพร้อม ตรวจสอบข้อมูลจากระบบ และการอนุมัติการใช้บริการจากเจ้าหน้าที่ ปส. ใช้เวลาการสมัครไม่เกิด 10 นาที และเจ้าหน้าที่ ปส. จะอนุมัติสิทธิภายใน 1-2 วัน
สมัครเข้าใช้ระบบได้ที่ epermit.oap.go.th
แนะนำการแจ้งข้อเท็จจริงและคู่มือการใช้ระบบ download ได้ที่ www.oap.go.th/services/per-invoice
หลังสมัครระบบแล้วต้องกรอกแจ้งข้อเท็จจริง (License Per Invoice: LPI) ตอนไหน?
ใบอนุญาตนำเข้า-ส่งออก ได้รับการอนุญาตแล้วมีเลขที่ใบอนุญาต เช่น 6IXXX/000E, 6MXX/000I และมีข้อมูลรายการสินค้า Invoice เมื่อมีข้อมูลทั้ง 2 ส่วนแล้ว สามารถเข้าระบบแจ้งข้อเท็จจริง เพื่อทำใบ LPI ได้ทันที
แจ้งข้อเท็จจริงใช้เวลานานไหม ทำได้เฉพาะเวลาทำการหรือไม่?
เมื่อกรอกข้อมูลครบถ้วนและส่งคำขอไปยังศุลกากรผ่านระบบแล้ว ระบบจะตรวจสอบอัตโนมัติและแจ้งผลกลับภายใน 5 นาที สามารถแจ้งข้อเท็จจริงได้ 24 ชม. 7 วัน ไม่มีวันหยุด
แจ้งข้อเท็จจริงไม่ผ่าน ถูก reject ทำอย่างไร?
สามารถทำสำเนาใบ LPI ฉบับใหม่ แล้วกรอกข้อมูล แก้ไขให้ถูกต้อง แล้วส่งไปกรมศุลกากรใหม่ได้ทันที
ระบบใช้ไม่ได้ต้องแจ้งที่ไหน?
เมลแจ้งได้ที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือโทร 0 2596 7600 ต่อ 1501-1502
งานอนุญาตเครื่องกำเนิดรังสี
เครื่องกำเนิดรังสีใดที่ต้องแจ้งการครอบครองหรือต้องขออนุญาตฯ
เครื่องกำเนิดรังสีที่มีพลังงานเกินกว่า 5 KeV หรือ 5 KV
การกำกับดูแลเครื่องกำเนิดรังสีมีกี่แบบ
หน่วยงานใดที่มีหน้าที่ดูแลเครื่องกำเนิดรังสี
หน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลเครื่องกำเนิดรังสี
- กระทรวงสาธารณสุข ดูแลเครื่องกำเนิดรังสีที่ใช้ในงานรังสีวินิจฉัย เช่นเครื่องกำเนิดรังสที่ใช้ในโรงพยาบาล คลินิกต่างๆ คลินิกฟัน คลีนิครักษาสัตว์
- ปส. ดูแลเครื่องกำเนิดรังสีที่มีความเสี่ยงสูง เครื่องเร่งอนุภาค งานรังสีรักษา เครื่องกำเนิดรังสีในงานด้านอุตสากรรม ศึกษาวิจัย
ตัวอย่างเครื่องกำเนิดรังสีที่อยู่ในการกำกับของกระทรวงสาธารณสุข
- เครื่องกำเนิดรังสีที่ใช้ในรพ.
- เอกเรย์ฟัน
- เครื่อง x ray ในคลินิกรักษาสัตว์
- รถเอกเรย์เคลื่อนที
เครืองกำเนิดรังสีใดที่ต้องขออนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสี
เครื่องกำเนิดรังสีที่มีพลังงานเกินกว่า 1 MeV เครื่องเร่งอนุภาคในงานรังสีรักษา เครื่องกำเนิดรังสีชนิดไม่ปิดมิดชิด เครื่องถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์แบบเคลื่อนที่
การอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้และการแจ้งมีไว้ในครอบครอง มีความแตกต่างกันอย่างไร
ระยะเวลาอนุญาต
- ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสีมีอายุใบอนุญาต 5 ปีเมื่อครบ 5 ปีต้องมาดำเนินการต่ออายุใบอนุญาต
- ใบแจ้งการครอบครอง ให้แจ้งการครอบครองเพียงครั้งเดียว และแจ้งอีกครั้งตอนที่ยกเลิกการใช้งาน
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี
- ใบอนุญาต ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี ตามที่ระบุไว้ตามกฎกระทรวงศักยภาพในการครอบครองเครื่องกำเนิดรังสีกลุ่ม 1 ระดับสูง ยกเว้นเครื่องเร่งอนุภาคด้านความปลอดภัย กลุ่มสองระดับกลาง
- ใบรับแจ้ง ไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีที่ขึ้นทะเบียนไว้กับทางปส. โดยควรมีการมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ที่มีความรู้เป็นผู้ดูแล
ระหว่างการได้รับอนุญาตครอบครองและใช้ต้องมีการดำเนินการอย่างไรบ้าง
รายงานการตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยเครื่องกำเนิดรังสี ตามระยะเวลาที่กำหนด กลุ่ม 1 ทุกปี กลุ่ม 2 ทุก 2 ปี
ระหว่างการแจ้งครอบครองและใช้ต้องมีการดำเนินการอย่างไรบ้าง
กรณีที่มีการเพิ่มขึ้น ลงของเครื่องฯระหว่างปี ให้รายงานการเพิ่มขึ้นลดลง ระหว่างวันที่ 1-30 ธันวาคมของทุกปี
รายงานผลการตรวจสอบคุณภาพเครื่องกำเนิดรังสีเป็นประจำทุก 2 ปี
กรณีที่จะนำเครื่องกำเนิดรังสีจากต่างประเทศมาใช้งานต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง
- กรณีเครื่องกำเนิดรังสีในกลุ่มที่ต้องขออนุญาตครอบครอง ให้ดำเนินการขออนุญาตนำเข้าและครอบครองเครื่องกำเนิดรังสี รายละเอียดสามารถดูได้จากทาง https://www.oap.go.th/services/1
- กรณีที่เป็นเครื่องในกลุ่มแจ้งครอบครองและใช้ ไม่ต้องขออนุญาตนำเข้า แต่เมื่อนำเข้ามาแล้วต้องมาแจ้งการครอบครองภายใน 30 วันนับจากวันที่นำเข้า
เครื่องกำเนิดรังสีประเภทใดอยู่ในกลุ่มแจ้งการมีไว้ในครอบครอง
เครื่องกำเนิดรังสีที่มีพลังงานสูงสุดของรังสีที่เกิดขึ้นต่ำกว่า 1 เมกะอิเล็กตรอนโวลต์หรือเครื่องกำเนิดรังสีที่อุปกรณ์กำเนิดรังสีภายในทำงำนที่ความต่ำงศักย์ต่ำกว่า 1 เมกะโวลต์ที่มีลักษณะกำรใช้งานปิดมิดชิดและไม่ได้ใช้งานกับคน https://drive.google.com/file/d/1quRo4J2i36ggcE6umBC50i3BjEq6M6Az/view
เอกสารทางเทคนิคในการแจ้งการครอบครองเครื่องกำเนิดรังสี
ครอบครองเครื่องกำเนิดรังสี
- เอกสารแสดงคุณลักษณะของเครื่องกำเนิดรังสี
ครอบครองและใช้เครื่องกำเนิดรังสี
- เอกสารแสดงคุณลักษณะของเครื่อง
- เอกสารแสดงการใช้งานอุปกรณ์บันทึกปริมาณรังสรประจำตัวบุคคล
- เอกสารรายงานการตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยของเครื่อง
เครื่องกำเนิดรังสีในกลุ่มแจ้งการมีไว้ในครอบครองจำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีหรือไม่
ไม่จำเป็น แต่ต้องมีเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ดูแล
กรณีใบอนุญาตเครื่องกำเนิดรังสีในกลุ่ม 3 ใกล้หมดอายุ ต้องดำเนินการอย่างไร
ทางหน่วยงานไม่ต้องดำเนินการเรื่องต่ออายุ ทางปส.อยู่ระหว่างรอให้ใบรับแจ้งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อเรียบร้อยแล้วทางปส.จะรีบดำเนินการส่งใบรับแจ้งใบใหม่ไปให้ แทนใบอนุญาตที่ใกล้หมดอายุ
กฎหมายเรื่องค่าธรรมเนียมมีผลบังคับใช้ หน่วยงานใดที่ได้รับการยกเว้นธรรมเนียม
หน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐ หน่วยงานราชการ สภากาชาดไทย
ใบอนุญาตเครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสี มีอัตราค่าธรรมเนียมเท่าใด
ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสี
- เครื่องกำเนิดรังสีประเภทที่ 1 ฉบับละ 2,000 บาท (1 ฉบับ 1 เครื่อง)
- เครื่องกำเนิดรังสีประเภทที่ 2 ฉบับละ 1,000 บาท (1 ฉบับ 1 เครื่อง)
เครื่องกำเนิดรังสีในกลุ่มแจ้งครอบครองต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือไม่
ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
การเปลี่ยนสถานะใบอนุญาตจากครอบครองเป็นครอบครองหรือใช้ ต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือไม่
ต้องชำระค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนแปลงแก้ไข ฉบับละ 100 บาท
ในการดำเนินการนำเข้าและใช้งานเครื่องกำเนิดรังสีในกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 จะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง และมีค่าธรรมเนียมเท่าใด
หน่วยงานต้องดำเนินการขออนุญาตนำเข้าและครอบครองเครื่องกำเนิดรังสี โดยมีค่าธรรมเนียมในการขออนุญาตดังนี้
ใบอนุญาตนำเข้าเครื่องกำเนิดรังสี
- (ก) เครื่องกำเนิดรังสีประเภทที่ 1 ฉบับละ 2,000 บาท
- (ข) เครื่องกำเนิดรังสีประเภทที่ 2 ฉบับละ 1,000 บาท
ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสี
- (ก) เครื่องกำเนิดรังสีประเภทที่ 1 ฉบับละ 2,000 บาท
- (ข) เครื่องกำเนิดรังสีประเภทที่ 2 ฉบับละ 1,000 บาท
กรณีมีขอสงสัยเกี่ยวกับการขออนุญาตหรือแจ้งการมีไว้ในครอบครองเครื่องกำเนิดรังสี สามารถติดต่อได้ที่ใด
ติดต่อ one stop service โทร 02 596 7600 ต่อ 1100
Email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
กลุ่มใบอนุญาตเครื่องกำเนิดรังสี 02 5967600 ต่อ 1106
ในกรณีที่ต้องการยกเลิกเครื่องกำเนิดรังสีต้องดำเนินการอย่างไร
ให้ทำหนังสือแจ้งการยกเลิกระบุเหตุผลพร้อมเอกสารประกอบ รายละเอียดตาม https://www.oap.go.th/services/1 ตัวอย่าง หนังสือขอยกเลิกเครื่องกำเนิดรังสี (ทั้งฉบับ)
หน่วยงานสามารถยื่นขออนุญาตหรือแจ้งการครอบครองเครื่องกำเนิดรังสีได้ทางใดบ้าง
- ยื่นด้วยตนเองที่ one stop service ปส.
- ทางไปรษณีย์
- ทางอีเมล : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
หน่วยงานที่ได้รับรองการตรวจสอบความปลอดภัยของเครื่องกำเนิดรังสี
- สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ Call Center: โทร. 0 2401 9885 หรือ 0 2401 9889 ต่อ 5995
- กรมวิทยาศาสาตร์การแพทย์
- สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์
- ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ประจำภูมิภาค
ระยะเวลาในการดำเนินการออกใบอนุญาตฯและใบรับแจ้งใช้เวลากี่วัน
ใบอนุญาตฯ ใช้เวลาไม่เกิน 45 วัน นับแต่วันที่เอกสารครบถ้วน
ใบรับแจ้งฯ ใช้เวลาไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันที่เอกสารครบถ้วน
การต่ออายุใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสี หากดูตามกฎกระทรวง กำหนดเครื่องกำเนิดรังสีที่ผู้ดำเนินการไม่ต้องขอรับใบอนุญาต พ.ศ. 2563 นั้น ต้องทำการยื่นเรื่องต่ออายุใบอนุญาต หรือแจ้งการมีไว้ในครอบครองหรือไม่ แล้วต้องดำเนินการอย่างไร
จากการพิจารณาแล้วเครื่องกำเนิดรังสีของเครื่องกำเนิดรังสีในกลุ่ม เครื่องกำเนิดรังสีที่ผู้ดำเนินการไม่ต้องขอรับใบอนุญาต พ.ศ. 2563 หมดอายุ 6 เมษายน 2565 ทางหน่วยงานไม่ต้องดำเนินการเรื่องต่ออายุ ทางปส.อยู่ระหว่างรอให้ใบรับแจ้งประกาศในราชกิจจานุเษกษา เมื่อเรียบร้อยแล้วทางปส.จะรีบดำเนินการส่งใบรับแจ้งใบใหม่ไปให้ แทนใบอนุญาตที่ใกล้หมดอายุ ในกรณีที่มีเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบ( auditor) สามารถอ้างพรบ. นิวเคลียร์ พศ 2562 มาตรา 26 ได้
เครื่อง XRF ก็จะต้องยื่นเรื่องให้กับปส ทุกปีใช่หรือไม่ว่ามีการครอบครอง เพียงแต่ไม่ต้องขออนุญาต แค่แจ้งใช่หรือไม่
ในกรณีที่หน่วยงานมีใบรับแจ้งมีไว้ในครอบครองและใช้เครื่องกำเนิดรังสี ระหว่างการครอบครองต้องดำเนินการดังนี้
1. ระหว่างปี กรณีที่มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของเครื่องกำเนิดรังสี ให้แจ้งการเพิ่มขึ้น-ลดลงของเครื่องกำเนิดรังสีทุกวันที่ 1 ธันวาคมของทุกปี (สามารถแจ้งยกเลิกเครื่องในคราวเดียวกัน)
2. ทุก 2 ปี ให้จัดส่งรายงานการตรวจสอบความปลอดภัยเครื่องกำเนิดรังสีให้สำนักงานทราบ
ขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎกระทรวง กำหนด เครื่องกำเนิดรังสีที่ผู้ดำเนินการไม่ต้องขอรับใบอนุญาต พ.ศ. 2563 เนื่องจากมีเครื่องกำเนิดรังสีเอกซ์ที่กำลังจะถึงรอบการต่อใบอนุญาต เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 (เลขที่ใบอนุญาต 4XI0251/60RF/1) โดยจากข้อความในกฎกระทรวงฯข้างต้น พบว่าเครื่องกำเนิดรังสีที่บริษัทฯครอบครองอยู่ทั้งหมด เข้าข่ายเป็นเครื่องกำเนิดรังสีที่มีพลังงานสูงสุดของรังสีที่เกิดขึ้นต่ำกว่า 1 เมกะอิเล็กตรอนโวลต์ เครื่องกำเนิดรังสีที่อุปกรณ์กำเนิดรังสีภายในทำงานที่ความต่างศักย์ต่ำกว่า 1 เมกะโวลต์และ เป็นเครื่องวัดทางอุตสาหกรรมด้วยรังสีเอกซ์แบบติดตั้งอยู่กับที่ ที่มีลักษณะการใช้งานแบบปิดมิดชิด ไม่ได้ใช้งานกับคน กรณีนี้ควรดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตหรือไม่
ตามที่เอกสารแนบของทางบริษัท จากการตรวจสอบเครื่องดังดังกล่าวเป็นเครื่องดังกล่าวอยู่ในเครื่องตามกฏกระทรวงการแจ้งการครอบครองหรือใช้เครื่องกาเนิดรังสีที่ไม่ต้องขอรับใบอนุญาตตามมาตรา ๒๖/๒ ซึ่งไม่ต้องชออนุญาต แต่ให้ดำเนินการแจ้งการมีไว้ในครอบครองตามกฎกระทรวงฯ ในกรณีที่ทางหน่วยงานมีใบอนุญาตฯครอบตรองอยู่แล้ว ให้ถือว่าได้แจ้งการมีไว้ครอบครองแล้ว ตามมาตรา ๒๖ พรบ.พลังงานนิวเคลียร์ ตามมาตรา ๒๖
มาตรา ๒๖ ให้ใบอนุญาตผลิต มีไว้ในครอบครองหรือใช้ซึ่งพลังงานปรมาณูจากเครื่องกาเนิดรังสีที่ได้ให้ไว้ตามพระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ. ๒๕๔๙ ๒๕๖๒ ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกาเนิดรังสีที่ได้ให้ไว้ตามพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์ พ.ศ. ๒๕๕๙ สาหรับเครื่องกาเนิดรังสีตามมาตรา ๒๖/๑ และมาตรา ๒๖/๒ แห่งพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. ๒๕๕๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และใบอนุญาตยังไม่สิ้นอายุ ถือเป็นใบรับแจ้งการครอบครองหรือใช้เครื่องกาเนิดรังสีตามมาตรา ๒๖/๑ หรือมาตรา ๒๖/๒ แห่งพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. ๒๕๕๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี
ทังนี้ ปส.อยู่ระหว่างรอให้ใบรับแจ้งประกาศในราชกิจจานุเบกษาและการดำเนินการจัดทำใบรับแจ้งการมีไว้ในครอบครองและใช้เครื่องกำเนิดรังสี ส่งให้หน่วยงานอยู่ ในกรณีที่หน่วยงานยังไม่ได้รับฯให้ใช้ใบอนุญาตที่มีอยู่เป็นไปรับแจ้งไปพลางก่อน
ทางบริษัทฯ มีความประสงค์ในการนำเข้า Electron Microscope ซึ่งบริษัทฯ ได้ทำการแนบเอกสารสำคัญสำหรับประกอบการนำเข้ามาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทางบริษัทฯ จำเป็นต้องขอใบอนุญาตสินค้าเหล่านี้หรือไม่
เครื่องดังกล่าวอยู่ในเครื่องตามกฏกระทรวงการแจ้งการครอบครองหรือใช้เครื่องกาเนิดรังสีที่ไม่ต้องขอรับใบอนุญาตตามมาตรา ๒๖/๒ ซึ่งไม่ต้องชออนุญาต แต่ให้ดำเนินการแจ้งการมีไว้ในครอบครองตามกฎกระทรวง ทั้งนี้แบบคำขออยู่ระหว่างดำเนินการประกาศในราชกิจจานุเบกษา จึงขอให้ใช้ปส.1ค ไปพลางก่อน ครับเครื่องแจ้งไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี
จากทางบริษัท ได้มีการเปลี่ยนหลอด x ray generator เครื่อง x ray เนื่องจากหลอดเดิมได้หมดอายุการใช้งาน ไม่สามารถใช้งานได้ จึงเรียนสอบถามเรื่องการกำจัดหลอด x ray generator หลอดเก่าครับ ว่าอยู่ในหมวดใด กำจัดแบบใด
หลอดเครื่องกำเนิดรังสี ที่หมดสภาพการใช้งาน แล้ว ไม่ถือว่าเป็นเครื่องกำเนิดรังสี โดยหลอดเครื่องกำเนิดรังสีที่ถอดออก จะไม่มีรังสีแผ่ออกมาหรือวัสดุกัมมันตรังสีตกค้าง
เนื่องจากภายในหลอดมีโลหะหนัก จึงขอให้ดำเนินการจัดการเป็นขยะอิเลคโทรนิค โดยดำเนินจัดส่งหน่วยงานที่ได้รับดำเนินการต่อไป
งานอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี
หมวดที่ 1: การสมัครทดสอบความรู้ความสามารถเพื่อขอรับใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี
ต้องการสมัครทดสอบ RSO ระดับกลาง ประเภทเครื่องกำเนิดรังสี ต้องสอบทดภาคปฏิบัติด้วยหรือไม่ และสอบถามการจ่ายค่าธรรมเนียมต้องจ่ายก่อนสอบ หรือจ่ายตอนยื่นคำขอรับใบอนุญาต
- สมัครทดสอบ RSO .ระดับกลาง ประเภทเครื่องกำเนิดรังสี ไม่ต้องสมัครทดสอบภาคปฏิบัติ
- ค่าธรรมเนียมมี 2 ค่าธรรมเนียม
- ค่าธรรมเนียมสมัครทดสอบ ต้องชำระก่อนประกาศผู้มีสิทธิ์ทดสอบอย่างน้อย 3 วันมิฉะนั้นจะถูกตัดสิทธ์
- ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต RSO ต้องชำระภายใน 30 วันเมื่อได้รับแจ้งว่าจะได้รับใบอนุญาต RSO หลังยื่นคำขอรับใบอนุญาตทุกต้องครบถ้วย
รูปถ่ายประกอบการขอรับใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี ต้องเป็นแบบไหน
- ต้องเป็นรูปถ่ายมาตรฐานสำหรับปรากฏบนบัตรใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี
- มาตรฐานรูปถ่ายต้องมีลักษณะดังนี้
- ต้องได้สัดส่วน
- ต้องเป็นรูปถ่ายสี พื้นหลังสีฟ้าเท่านั้น (ห้ามตกแต่งพื้นหลังแบบไล่เฉดสี)
- ขนาด 2.5 ซม. X 3.0 ซม.
- รูปถ่ายหน้าตรง ครึ่งตัว ไม่หันข้าง ไม่ยิ้มเห็นฟัน (รูปถ่ายต้องเห็นศีรษะและ ส่วนบนของหัวไหล่)
- ต้องแต่งกายสุภาพ หรือชุดยูนิฟอร์ม (ห้ามสวมเสื้อยืดคอกลม)
- ไม่สวมแว่นตา หมวก เครื่องประดับศีรษะ หรือผ้าคลุม(ยกเว้น ผ้าคลุมทางศาสนา)
- ไม่ควรมีหนวดเครา และทรงผมไม่ปกปิดหน้าตา ควรเก็บรวบให้เรียบร้อยไว้บริเวณด้านหลัง
- ไม่สวมเครื่องประดับ ต่างหู สร้อยคอ หรือการเจาะจมูก
- รูปถ่ายต้องมีความชัดเจน ภาพไม่แตกหรือเบลอ ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน
คำเตือน : หากรูปถ่ายไม่ได้มาตรฐาน จะไม่ได้รับการพิจารณาอนุญาตออกบัตรใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี และจะถือว่าผู้ขอรับใบอนุญาตละทิ้งคำขอรับใบอนุญาตให้ตัดออกจากระบบการขอรับใบอนุญาตเมื่อเกินกำหนด
การทดสอบแบบออนไลน์ (online) คือการทดสอบที่บ้านใช่หรือไม่ และมีการจับเวลาในการทดสอบหรือไม่
ปัจจุบันมีการจัดการทดสอบ 3 ลักษณะ
- การจัดทดสอบแบบออนไลน์ ผู้เข้ารับทดสอบสามารถสอบได้ตามสถานที่บ้าน / ที่ทำงาน เเต่ต้องอยู่ภายในห้องส่วนตัว ไม่มีเสียงรบกวน
- การจัดสอบ ณ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ด้วยระบบคอมพิวเตอร์
- การจัดสอบ ณ ศูนย์ปรมาณูภูมิภาค ด้วยระบบคอมพิวเตอร์
การจัดทดสอบทั้ง 3 ลักษณะมีการจับเวลาทดสอบ
การทดสอบแบบ online กับทดสอบแบบ onsite ต่างกันอย่างไร
ทดสอบรูปแบบออนไลน์ สามารถจัดสอบได้ที่บ้าน / ที่ทำงาน เเต่ต้องอยู่ภายในห้องส่วนตัว ไม่มีเสียงรบกวน และต้องตั้งกล้องตามที่ ปส. กำหนด การสอบรูปแบบออนไซต์ จะต้องมาสอบที่ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ หรือ ศูนย์ปรมาณูเพื่อสันติภูมิภาค
เข้าไปสมัครทดสอบความรู้ความสามารถเพื่อการขอรับใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีได้ที่ไหน
ปัจจุบันต้องดำเนินการผ่านเว็บไซด์ rsothai.oap.go.th โดยขั้นตอนดังนี้
- สมัครเป็นสมาชิกระบบ
- กดปุ่ม ลงทะเบียนเพื่อสมัครเป็นสมาชิกระบบ
- กรอก e-mail ที่ใช้ในการลงทะเบียน
- ตรวจสอบ e-mail และกรอก OTP ที่ได้รับเพื่อยืนยันตัวตน
- เข้าระบบใหม่ด้วย และกรอกข้อมูลให้ถูกต้องตามบัตรประชาชน รูปถ่ายมาตรฐาน และหลักฐานถูกต้องตามคุณสมบัติและคุณวุฒิ
- ติดตามและตรวจสอบสถานะว่า “ผ่าน” ข้อมูลบุคคล
- สมัครทดสอบ
- เลือกสมัครทดสอบความรู้ความสามารถกับโครงการที่สนใจ
- ติดตามและตรวจสอบสถานะว่า “ผ่าน..” คุณสมบัติและวุฒิ
- ดาว์นโหลดใบแจ้งชำระค่าสมัครทดสอบ และไปชำระค่าสมัครทดสอบ ณ ธนาคาร ที่ร่วมโครงการ
- ติดตามประกาศผู้มีสิทธิ์ทดสอบ ณ ข่าวประชาสัมพันธ์ เว็บไซด์ rsothai.go.th
หมายเหตุ สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอคำแนะนำ ที่ 0-259-7600 ต่อ 4308 หรือ e-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. ระบุเรื่อง “สอบถามการทดสอบ/การใช้งานระบบ” พร้อมแจ้งหมายเลขโทรศัพท์ ที่สามารถติดกลับได้
หากทดสอบภาคทฤษฎีผ่านเพียงแค่ 1 วิชา จะต้องดำเนินการทดสอบใหม่ทั้งหมดหรือไม่
ไม่ต้องดำเนินการทดสอบใหม่ทั้งหมด สามารถสมัครทดสอบซ่อมเฉพาะวิชาที่ทดสอบไม่ผ่านได้
การสอบซ่อมจำกัดระยะเวลาไหม ว่าต้องสอบภายในกี่วัน
ผลการสอบภาคทฤษฎีแต่ละวิชาและภาคปฏิบัติมีอายุสองปีนับแต่วันที่ประกาศผลสอบ
ผู้สมัครสามารถ walk in เพื่อมาสมัครสอบได้หรือไม่
การสมัครทดสอบจะต้องดำเนินสมัครผ่านระบบรับสมัคออนไลน์ ที่เว็บไซด์ http://rsothai.oap.go.th เท่านั้น จึงขอแนะนำว่าไม่จำเป็นต้องเดินทางมาที่สำนักงาน ปส.
สมัครทดสอบแบบออนไลน์ แต่พบว่าจำนวนผู้เข้าสอบเต็มจะต้องดำเนินการอย่างไร
ด้วยปัจจุบัน ปส. มีการบริการเปิดรับสมัครทกสอบทุกเดือน ดังนั้นจึงสามารถสมัครทดสอบได้ทุกเดือนตามความประสงค์ หรือดูรายละเอียดได้ที่ ที่เว็บไซด์ http://rsothai.oap.go.th
หากไม่สามารถเข้าทดสอบในครั้งที่สมัครได้ สามารถขอเลื่อนสอบไปเป็นครั้งต่อไปได้หรือไม่
การขอเลื่อนทดสอบไปในครั้งถัดไปแต่ต้องไม่เกิน 1 เดือนนับแต่วันขอเลื่อนโดยต้องแจ้งความประสงค์ล่วงหน้าพร้อมเหตุผลความจำเป็นก่อนวันปิดรับสมัครทดสอบของครั้งที่สมัครทดสอบไว้เดิมไม่น้อยกว่า 3 วันทำการที่ 0-259-7600 ต่อ 4308
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีระดับไหน จะต้องสอบภาคปฏิบัติ
เจ้าหน้าทีความปลอดภัยทางรังสีที่จะต้องผ่านการสอบภาคปฏิบัติมีดังนี้
- ระดับกลาง ประเภทวัสดุกัมมันตรังสี
- ระดับกลาง ประเภทวัสดุกัมมันตรังสีและเครื่องกำเนิดรังสี
- ระดับสูงทุกประเภท
การสอบภาคปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีระดับสูงจะต้องสอบผ่านภาคทฤษฎีก่อนหรือไม่
ผู้ที่จะสมัครสอบภาคปฏิบัติเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีระดับสูงได้ จะต้องเป็นผู้ที่สอบผ่านภาคทฤษฎีก่อนแล้วเท่านั้น
สามารถนำอะไรเข้าห้องสอบได้บ้าง
บัตรประชาชน ปากกา และเครื่องคิดเลขไม่มีฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์
เวลาสอบภาคทฤษฎีในแต่ละวิชา มีกำหนดการอย่างไร
เวลาสอบภาคทฤษฎีในแต่ละวิชา
- วิชากฎหมาย เวลาทำข้อสอบ 1.30 ช.ม.
- วิชาด้านเทคนิคเกี่ยวกับรังสี ประเภทวัสดุกัมมันตรังสี เวลาทำข้อสอบ 2 ช.ม.
- วิชาด้านเทคนิคเกี่ยวกับรังสี ประเภทเครื่องกำเนิดรังสี เวลาทำข้อสอบ 2 ช.ม.
- วิชาด้านเทคนิคเกี่ยวกับรังสี ประเภทวัสดุกัมมันตรังสีและเครื่องกำเนิดรังสี เวลาทำข้อสอบ 2.30 ช.ม.
เมื่อประกาศผลการทดสอบฯ และทราบว่ามีรายชื่อ ทดสอบผ่านแล้วจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง
- ให้ตรวจดูว่า
- ทดสอบผ่านครบถ้วนทุกวิชาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และผลผ่านการทดสอบไม่เกิน 2 ปี
- ตรงตาม คุณสมบุติและคุณวุฒิ ตามประกาศ ปส. เรื่องการเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ. 2563 ที่จะขอรับใบอนุญาต RSO ระดับ และประเภท ที่ต้องการ
- ยื่นแบบคำขอรับใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ปลอดภัยทางรังสี ที่ http://rsothai.oap.go.th ที่หัวข้อ “ขอรับใบอนุญาตตาม ข้อ 6(3) ของกฎกระทรวงฯ”
หมายเหตุ สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอคำแนะนำ ที่ 0-259-7600 ต่อ 4308 หรือ e-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. ระบุเรื่อง “สอบถามการขอรับใบอนุญาต/การใช้งานระบบ” พร้อมแจ้งหมายเลขโทรศัพท์ ที่สามารถติดกลับได้
ผู้ที่มีคุณสมบัติใดบ้างที่จะเป็น RSO ได้
ต้องมีคุณสมบัติและคุณวุฒิตามข้อ 3 ของกฎกระทรวง กำหนดการแบ่งระดับ การกำหนดคุณวุฒิ และการอนุญาตเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ. ๒๕๖๓ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
เมื่อทดสอบผ่านแล้ว การจัดส่งใบอนุญาตจะใช้เวลานานเท่าไหร่ และจัดส่งให้ทางไหน
ผู้ที่ผ่านการทดสอบแล้วจะไม่ได้รับใบอนุญาตทันที จะต้องดำเนินการดังนี้
- ได้ตรวจสอบด้วยตนเองแล้วว่า ได้ผ่านทดสอบครบถ้วนทุกวิชาในภาคทฤษฎี และผ่านทดสอบภาคปฏิบัติแล้วเฉพาะกรณีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับกลางประเภทวัสดุกัมมันตรังสี ระดับกลางประเภทวัสดุกัมมันตรังสีและเครื่องกำเนิดรังสี และระดับสูงทุกประเภท
- ได้ยื่นแบบคำขอรับใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ปลอดภัยทางรังสีพร้อมเอกสารหลักฐานและรูปถ่ายแล้ว ที่ เว็บไซด์ http://rsothai.oap.go.th ที่หัวข้อ “ขอรับใบอนุญาตตาม ข้อ 6(3) ของกฎกระทรวงฯ”
- ผู้สมัครได้รับหนังสือจาก ปส. ให้ไปชำระค่าธรรมเนียม แล้วแสดงหลักฐานการชำระ
- ได้รับใบอนุญาตฯ ภายใน 7 ทำการนับแต่วันที่ชำระค่าธรรมเนียน ตามที่อยู่ที่ผู้สมัครระบุไว้ในระบบรับสมัคร
ไม่ได้รับใบอนุญาตที่ทาง ปส. จัดส่งให้ เนื่องจากมีการย้ายที่ทำงาน ซึ่งติดต่อกับทางบริษัทเดิมแล้วแต่พบว่ายังไม่ได้รับ จะต้องดำเนินการอย่างไร
- ดำเนินการตามคำแนะนำที่ http://rsothai.oap.go.th ส่วนประชาสัมพันธ์ เรื่อง “ยื่นขอรับใบอนุญาตแล้ว ยังไม่ได้รับใบอนุญาต”
- แจ้งเจ้าหน้าที่ได้ที่ e-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. พร้อมทั้งแจ้งที่อยู่ในการจัดส่งใบอนุญาตและโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อกลับได้
หากไม่สามารถอัพโหลดเอกสารได้ จะต้องดำเนินการอย่างไร
- ดำเนินการตามคำแนะนำที่ http://rso.oap.go.th ส่วนประชาสัมพันธ์ เรื่อง “การอัพโหลดเอกสาร”
- ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอคำแนะนำ ที่ 0-259-7600 ต่อ 4308
- ติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ที่e-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. พร้อมแนบเอกสารหลักฐานที่จะอัพโหลด และหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อกลับได้
การชำระเงินสามารถชำระช่องทางอื่นนอกจากเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทยได้หรือไม่
ผู้สมัครสามารถชำระเงินค่าสมัครสอบได้ ๓ ช่องทางดังต่อไปนี้
๑. ชำระผ่านทางเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย
๒. ผ่านแอพพลิเคชั่น Krungthai connext COMP CODE : 701641 – สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ – จนท.รังสี
๓. ชำระผ่านตู้ ATM COMP CODE : 701641
หมายเหตุ: ค่าธรรมเนียมมี 2 ค่าธรรมเนียม
- ค่าธรรมเนียมการสมัครทดสอบจะต้องชำระก่อนประกาศผู้มีสิทธิเข้าทดสอบ
- ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต RSO จะต้องชำระภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับใบแจ้งการชำระเงินจาก ปส.
ปส. มีการจัดอบรมหลักสูตร RSO โดยตรงไหม หรือมีหลักสูตรการอบรมอะไรบ้างที่ผู้สมัครสามารถเข้าอบรมเพื่อนำความรู้มาใช้ในการสอบ เนื่องจากผู้สมัครสอบจบ ปวช. ปวส. จะไม่มีพื้นฐานด้านรังสีมากนัก
ปส. ไม่มีการจัดอบรมเพื่อสอบ RSO โดยตรง
หากผู้สมัครสอบต้องการอบรมให้หาข้อมูลเพิ่มเติมจาก สทน. หรือสถาบันการศึกษาที่เปิดอบรมให้ความรู้ในเรื่องนี้
ปส. มีเปิดติวเพื่อสอบหรือไม่
ไม่มีการเปิดติวหรืออบรมสำหรับการสอบใดๆ ทั้งสิ้น
ใบอนุญาต RSO มีอายุกี่ปี
ไม่เกิน 5 ปี
หากต้องการเลื่อนระดับ RSO ต้องทำอย่างไร
- ต้องตรวจดูว่ามีคุณสมบัติและคุณวุฒิถูกต้องครบถ้วนกับระดับที่ต้องการ เช่น ระดับกลางสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือ เป็น RSOระดับต้นปฏิบัติหน้าที่มาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีและผ่านอบรมหลักสูตรที่สำนักงานรับรอง ระดับสูงสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และผ่านอบรมหลักสูตรที่สำนักงานรับรอง หรือเป็น RSO ระดับกลางปฏิบัติหน้าที่มาไม่น้อยกว่าสองปี และผ่านหลักสูตรที่สำนักงานรับรอง
- ต้องผ่านหลักเกณฑ์การเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี ตามประกาศสำนักงานเรื่องการเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ. 2563
- สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://rsothai.oap.go.th
หมวดที่ 2: การยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี
ใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี หมดอายุแล้วต้องทำอย่างไร
ดำเนินการขอทดสอบใหม่ หรือ ดำเนินการตามเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี ตามข้อ ๖ ขอกฎกระทรวง กำหนดการแบ่งระดับ การกำหนดคุณวุฒิ และการอนุญาตเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ. ๒๕๖๓ ซึ่งสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://rso-training.oap.go.th
ใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี หมดอายุแล้ว ยังสามารถปฏิบัติหน้าที่ RSO ต่อไปได้หรือไม่
ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ ยกเว้นได้ดำเนินการยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตครบถ้วนก่อนใบอนุญาตหมดอายุแล้วดังต่อไปนี้
- ผู้ประสงค์จะต่ออายุใบอนุญาตต้องผ่านอบรมและทดสอบตามประกาศสำนักงาน ปส. เรื่อง การเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี
- ยื่นแบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตต่อเลขาธิการ ตามมาตรา 95 แล้ว ยังคงให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้จนกว่าเลขาธิการจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
- การต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
การต่ออายุใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี สามารถยื่นต่ออายุล่วงหน้าได้กี่วัน
สามารถยื่นภายใน 90 วันแต่ไม่น้อยกว่า 60 วัน ก่อนใบอนุญาตฯ สิ้นอายุ ซึ่งเป็นไปตามข้อ ๙ ของกฎกระทรวงกำหนดการแบ่งระดับ การกำหนดคุณวุฒิ และการอนุญาตเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ. ๒๕๖๓
หมวดที่ 3: กรณีใบอนุญาตชำรุด สูญหาย หรือถูกทำลาย
หากใบอนุญาต RSO หาย หรือชำรุด ต้องทำอย่างไร
ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อเลขาธิการ พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอรับใบแทนใบอนุญาต รวมถึงหลักฐานการเเจ้งความ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รู้ถึงการชำรุดในสำระสำคัญ สูญหาย หรือถูกทำลาย