ห้องปฏิบัติการนิเวศวิทยารังสีภาคพื้น (Terrestrial Radioecological Laboratory)

วัตถุประสงค์

ศึกษานิเวศวิทยาทางรังสีภาคพื้นของนิวไคลด์รังสีธรรมชาติและนิวไคลด์รังสีที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนการกำกับดูแลทางด้านนิวเคลียร์และรังสีของประเทศไทย

เพื่อตรวจวัดความเข้มข้นของเรดอนในตัวอย่างสิ่งแวดล้อมด้วยด้วยเครื่องมือวัดก๊าซเรดอนRAD7 Electronic radon detector และการใช้เทคนิคการกัดรอยทางรังสี

สอดคล้องกับภารกิจของ ปส. อย่างไร

การศึกษาวิจัยด้านนิเวศวิทยารังสีภาคพื้นฯ เป็นการดำเนินการเพื่อสนับสนุนการกำกับดูแลด้านนิวเคลียร์และรังสี ดังนี้

1. วิจัยและพัฒนาด้านนิเวศวิทยารังสีภาคพื้นฯ เพื่อการกำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสี

2. ให้การสนับสนุนด้านวิชาการแก่หน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง

3. สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายวิจัยทั้งในและต่างประเทศ

Terrestrial Radioecological Laboratory

จุดเด่น

  • ห้องปฏิบัติการมีเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดกัมมันตภาพรังสีที่ได้รับมาตรฐาน
    และมีการทวนสอบภายในอย่างสม่ำเสมอ เช่น
    • ระบบวัดแกมมาสเปคโตรเมตรี
    • เครื่องวัดก๊าซเรดอน RAD7 Electronic radon detector
  • มีเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ในการตรวจวัดกัมมันตภาพรังสีในสิ่งแวดล้อม ทั้งในภาวะปรกติและกรณีฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี
  • มีความพร้อมในการให้บริการสำหรับการศึกษาวิจัยแก่หน่วยงานราชการ/มหาวิทยาลัย รวมถึงการฝึกงานของนักศึกษา

การใช้ประโยชน์

  • การตรวจวัดกัมมันตภาพรังสีในตัวอย่างสิ่งแวดล้อม (ดิน ตะกอน หิน พืช และน้ำ)
  • การศึกษาวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับรังสีในระบบนิเวศวิทยาภาคพื้น เช่น
    • การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ระหว่างนิวไคลด์รังสีและลักษณะทางธรณีวิทยาของพื้นที่
    • การเคลื่อนย้ายของนิวไคลด์รังสีในสิ่งแวดล้อมและในห่วงโซ่อาหาร
    • การศึกษาปริมาณและผลกระทบทางรังสีต่อสิ่งแวดล้อม ประชาชน และผู้ปฏิบัติงานทางรังสี
    • ประยุกต์ใช้เทคนิคทางรังสี (Pb-210 และ Cs-137) ในการวิเคราะห์หาอัตราการสะสมของตะกอน/ดิน

บทความวิจัย

ห้องปฏิบัติการนิเวศวิทยารังสีภาคพื้น (Terrestrial Radioecological Laboratory)

งานวิจัยที่นำเสนอภาคบรรยาย

งานวิจัยที่นำเสนอภาคโปสเตอร์

Skip to content